|
กระดานสนทนา :: ปัญหาการบริการด้านภาษี |
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
13-04-2011 12:26:14
|
|
|
|
|
ลงทะเบียนเมื่อ: 11-10-2024 04:10:57
ตอบ: 0
ที่อยู่: |
|
|
|
“การหักค่านายหน้าหักกี่เปอร์เซ็น” นี่ก็เป็นคำถามหนึ่งที่นกได้ยินเจ้านายต้องตอบลูกค้าเสมอ
จึงรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มาไว้ที่นี่ เพื่อมาเป็นความรู้ให้ทุกท่านที่เข้าชมเวปไซด์ของเรานะค่ะ
ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย มีทั้งด้านที่ เราต้องเป็นผู้หัก และ ด้านที่เราเป็นผู้ถูกหัก (บุคคลธรรมดาไม่มีสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายใคร นะค่ะ แต่บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน สามารถ หัก ณ ที่จ่าย บุคคลได้ ค่ะ)
ถ้าเราเป็น บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นผู้หัก ณ ที่จ่าย ให้แยกแบบให้ออกก่อนว่าเป็นแบบ อะไร มีแค่ 2 แบบดังนี้
1. หัก ณ ที่จ่าย นิ ติบุคคล คือห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัท จำกัดฯ เราต้อง ยื่นแบบ ภงด.53
2. หัก ณ ที่จ่าย แก่ บุคคลธรรมดา คือ หสม. ,ร้านค้า นาย... , นาง.... ,ทะเบียนพาณิชย์ (จัดเป็นบุคคลธรรมดาหมดนะค่ะ) เราต้องยื่น ภงด.3
ส่วนจะหัก ณ ที่จ่ายอัตรากี่เปอร์เซ็นต์นั้น ขึ้นอยู่กับว่าจ่ายค่าอะไร (ทั้ง ภงด.53 และ ภงด.3 หัก เหมือนกันค่ะ)
1. ค่านายหน้า
- ถ้าจ่ายบุคคลธรรมดา หัก 10-37% ตามอัตราก้าวหน้า
- ถ้าจ่ายนิติบุคคลหัก 3% ค่ะ
2. ค่าเช่า หัก 5% (เช่าบ้าน รถ เครื่องจักร ฯลฯ )
3. ค่าจ้างทำของ หัก 3% (จ้างทำงานตามแบบที่เรากำหนด อย่างเช่น จ้างทำเครื่องจักร จ้างเขียนเวปไซด์ จ้างทำบัญขี)
4. ค่าบริการ หัก 3% (ค่าบริการ ที่ผลงานที่ได้ ไม่ได้ออกมาเป็นรูปร่างหน้าตา เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต)
5. ค่าขนส่ง หัก 1% อันนี้ชัดเจนค่ะ ว่า ค่าขนส่ง ไม่ต้องยกตัวอย่างนะค่ะ
6. ค่าประกันภัย หัก 1% อันนี้ก็ชัดเจนเหมือนกัน ไม่ต้องยกตัวอย่างนะค่ะ
7. ค่าโฆษณา หัก 1% อันนี้ก็ชัดเจนเหมือนกัน ไม่ต้องยกตัวอย่างนะค่ะ
หลักๆ ที่จะเจอ จะมีแค่นี้ นะค่ะ เกี่ยวกับเรื่องหัก ณ ที่จ่าย แต่นกเวลาจำ ง่ายๆ เลยคือ ค่าใช้จ่ายใดๆ ก็ตามนอกจากการซื้อสินค้า ซื้อของใช้ ต้องหัก ณ ที่จ่ายหมด แต่จะหัก กี่เปอร์เซ้นต์ ต้องมานั่งท่องจำอีกทีค่ะ |
IP Logged
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 03-09-2011 23:41:19 โดย สุณิษาเรืองหิรัญ ด้วยเหตุผล |
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
06-05-2011 16:06:48
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
ค่าบริการ ปกติจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แต่เราจะหัก 10% ได้หรือไม่ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
07-05-2011 18:08:15
|
|
|
สุณิษาเรืองหิรัญ |
|
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่: |
|
|
|
ปกติประมวลรัษฏากรกำหนดให้ หัก ณ ที่จ่าย ค่าบริการ ไว้ 3 เปอร์เซ็น แต่ถ้าหักเกินถามว่ามีความผิดหรือไม ให้วิเคราะห์ข้อมูล 2 ข้อนี้ก่อนนะค่ะ
1.ต้องดูว่า ผู้ที่เราจ่ายให้นั้นเป็นใคร เป็นบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาต้องชี้แจงให้ได้ว่า ค่าบริการที่เราจ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินวงเล็บสองจึงจะมีสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่าย 10 เปอร์เซ็นได้ (เพราะอ้างอิงการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามอัตราก้าวหน้า)ซึ่งไม่ นิยมทำเพราะ ยากที่จะรู้ว่าคนนั้นๆ มีรายได้เท่าไรในปีนั้นๆ
2.ถ้าบุคคลที่เราจ่ายให้เป็น นิติบุคคล ให้หัก 3 เปอร์เซ็นอย่างเดียวเท่านั้น สำหรับค่าบริการ เพราะประมวลรัษฏากรเขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว
สรุป
ถ้าข้อ 1 ไม่เข้าหลักเกณฑ์ ภาษีเงินได้พึงประเมิน(2)
หรือข้อ 2 ผู้รับเงินเป็นนิติบุคลแล้ว
ไปหัก ณ ที่จ่าย ไว้ 10 เปอร์เซ็น มีความผิดแน่นอน ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่สรรพากรแล้วนะค่ะ ว่า จะหยิบประเด็นนี้มาตรวจหรือเปล่า เพราะกรณีย์นี้ สรรพากรได้ผลประโยชน์ เหมือนการจ่ายภาษีล่วงหน้าไว้เกิน ถึงจะตรวจสอบก็ไม่มีเรื่องของค่าปรับใดๆ อย่างมากก็แค่ยื่นแบบปรับปรุงค่ะ แต่ถ้าสรรพากรเรียกตรวจแล้วไม่มีค่าปรับตรงส่วนนี้ ก็คงต้องตรวจส่วนอื่นต่อจนได้ เพราะฉนั้นไม่ควรทำให้เป็นประเด็นให้สรรพากรเข้าตรวจจะดีกว่านะค่ะ
|
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
18-06-2011 15:03:37
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
สมมุติว่าเราไปจดทะเบียนพานิชย์แล้วไปรับเหมา 158,000 บาท เราต้องจ่ายภาษีอะไรมั่ง
ช่วยตอบด้วยนะคะ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
21-06-2011 20:40:00
|
|
|
สุณิษาเรืองหิรัญ |
|
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่: |
|
|
|
หมายถึงจดทะเบียนพาณิชย์เสร็จแล้ว แล้วไปได้งาน มูลค่างาน 158,000 บาท เราจะต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายตอนได้รับเงิน เราจะต้องโดนเขาหัก ณ ที่จ่ายนะค่ะ
ยอดที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย คือ 4740 บาท ค่ะ ทำให้ได้รับเงินจริงแค่ 153,260 บาท นี่คือด้านรับนะค่ะ
ส่วนด้านค่าใช้จ่ายงานรับเหมาต้นทุนหลัก คือ ค่าแรงกับ ค่าของ ถ้าเราจ่ายค่าแรง พนักงาน เราต้องหัก ณ ที่จ่ายเขา 3 เปอร์เซ็นต์เหมือนกันนะค่ะ
สมมตจ้างคนงาน ยอด 100000 บาท ต้องจ่ายพนักงานแค่ 97,000 บาท นะค่ะ ต้องหัก เขาไว้ 3000 บาท ค่ะ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
27-06-2011 11:14:14
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
ขอบคะที่ตอบ เราได้งาน 158,000 บาท โดนหัก ณ ที่จ่าย 4740 บาท แล้วเราจะโดนหักภาษีอะไรอีกบ้างคะ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
28-06-2011 07:28:23
|
|
|
สุณิษาเรืองหิรัญ |
|
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่: |
|
|
|
ภาษี ตัวที่เราต้องเจอคือ
1.ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายที่เราโดนไปแล้ว 4740 บาท
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ถ้าเรา จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ยอดเงิน 11060 บาท (ถ้าไม่จดไม่ต้องจ่าย
3.ภาษีเงินได้ นิติบุคคลตอนสิ้นปี ( คิดจากรายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่ายทั้งปี ) - 150,000 เท่ากับเท่าไหร่ x 15% |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
01-07-2011 13:50:45
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด แต่จัดตั้งขึ้นเพื่อเปิดเป็นโรงเรียนสอนหนังสือจพถูกหัก๓ษี ณ ที่จ่าย หรือเปล่าค่ะ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
02-07-2011 08:33:33
|
|
|
สุณิษาเรืองหิรัญ |
|
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่: |
|
|
|
ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนฯ จากกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอนหนังสือ/กวด วิชาให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป หรือไม่ค่ะ ถ้าได้รับอนุญาตแล้วผู้เรียนต้องลงทะเบียนและเรียนในสถานที่ของโรงเรียนศูนย์เรา ตามมาตรา 159 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ให้ถือว่าโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 เป็นโรงเรียนตามพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ ดังนั้น เงินได้จากกิจการของโรงเรียนราษฎร์ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ เฉพาะที่เป็นเงินได้ค่าเล่าเรียนที่ได้รับจากนักเรียน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้าง ทำของ หรือการให้บริการอื่นใดที่โรงเรียนราษฎร์ซึ่งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน จึงได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 และรายรับที่ได้ จากการประกอบกิจการดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร
สรุปคือ ถ้าเข้าเกณฑ์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้อื่นจะมาหัก ณ ที่จ่ายไม่ได้ค่ะ (แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวนะค่ะ) |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
29-07-2011 20:49:59
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
ในกรณีได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนฯ จากกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอนหนังสือ/กวด วิชาให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ตามมาตรา 159 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แล้วมีบริษัทจ้างโรงเรียนให้สอนภาษากับพนักงาน ต้องโดนหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3% มั้ยคะ เพราะว่าเราได้รับการยกเว้นภาษีใช่มั้ยคะ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
02-08-2011 17:17:33
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
บริษัทที่จ้างเราไม่มีสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายเรานะค่ะ เพราะเนื่องจากโรงเรียนที่ได้ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการไม่ใช่
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด เพราะฉนั้น หน่วยงานใหนก็ตามไม่มีสิทธิ์หัก ณ ที่จ่ายเราค่ะ
แต่ถ้าเราจ่ายเงินคนอื่น เป็นค่า บริการ ค่าจ้าง ฯ เราต้องหัก ณ ที่จ่ายเขานะค่ะ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
15-08-2011 09:54:59
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
อย่ารู้ว่าถ้าเราจะหัก ณ ที่จ่าย ค่าโปรแกรมพิมพ์เช็ค จะหักกี่เปอร์ ใช้สิทธิ์หักตามาตราอะไรค่ะ แล้วถ้าเราจะหักตามอัตราก้าวได้รึป่าว อย่างไร |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
15-08-2011 21:12:07
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
ให้เข้าไปดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป .101/2544ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2544 การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 กับผู้รับในกรณีนี้ โดยถือว่าเป็นค่าตอบแทนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ค่าตอบแทนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่จะหัก 10 เปอร์เซ็นต์ตามอัตราก้าวหน้าไม่ได้นะค่ะ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
25-08-2011 11:25:33
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
บริษัท ทำสัญญาว่าจ้าง คนต่างชาติเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท แต่ตัวเขาอยู่ต่างประเทศ ทำสัญญาจะจ่ายเงินทุก 6 เดือน ๆละ 30,000 บาท โดนการโอนเงินไปต่างประเทศ
และทำสัญญาย้อนหลังเป็น วันที่ 1 เมย.54 บริษัทต้องหัก ณที่จ่ายเขาเท่าไหร่ และจะโดนสรรพการตรวจสอบไหม คะ เราต้องหัก เขา 15% ใช่หรือไม่ แต่นายบอกว่า หัก 0% ช่วยตอบด่วนนะคะ ขอบคุณค่ะ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
03-09-2011 23:20:25
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
ถ้าเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ถึง 180 วัน
หลักเกณฑ์การคำนวณหักภาษี จะใช้เหมือนคนไทย
เช่น เงินได้40(1)และ(2)เงินเดือน ค่าที่ปรึกษา เป็นต้น
โดยจะเป็นบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตการทำงาน(Work Permit)ในประเทศ
และมีเลขที่ผู้เสียภาษีเป็นของตนเอง
+++คำนวณเหมือนกับหัก ณ ที่จ่าย ให้กับพนักงานคนไทย+++
มีการหักค่าใช้จ่าย หักลดหย่อน ฯลฯ แล้วนำมาไต่บันไดภาษี …..
ส่วนเงินได้วงเล็บอื่นก็หักกันไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
++++แต่ดิฉันคาดว่ากรณีนี้ ชาวต่างชาติไม่ได้เข้ามาอยุ่ในประเทศไทยเลยใช่มั้ยค่ะ เพียงแค่มีเงินได้จากจากประเทศไทย++++
หากเป็นเช่นนั้นการจ่ายเงินให้กับผู้รับที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย
หรืออยู่ไม่ถึง 180 สำหรับเงินได้ประเภท 40 (2) (3) (4) (5) และ(6) ท่านจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15
หมายเหตุอีกนิดนะค่ะ ตามกฎหมายภายใน (ป.รัษฎากร) ชาวต่างชาติอาจมีหน้าที่ต้องเสียภาษี
แต่ให้พิจารณาด้วยว่าเขาเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มี DTA กับไทยหรือไม่ ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นภาษี |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
03-09-2011 23:33:30
|
|
|
su |
บุคคลทั่วไป |
|
|
ขอแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับการ หัก ณ ทีจ่ายค่านายหน้าดังต่อไปนี้นะค่ะ
- ·ค่านายหน้า หรือค่าคอมมิชชั่น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)
- ·หากผู้รับค่านายหน้าเป็น บุคคลธรรมดา, คณะบุคคล, ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) โดยจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตราก้าวหน้า (เหมือนจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงาน)
- ·หากผู้รับค่านายหน้าเป็น นิติบุคคล ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส หรือคำสั่งกรมสรรพกรที่ ท.ป. 4/2528 โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3 %
|
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
14-09-2011 16:04:00
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
ประมาณการเสียภาษีภงด.51 โดยมีภาษีที่คำนวนได้ 900,000.- แต่6เดือนแรกมีภาษีที่ถูกหักณที่จ่าย 1,200,000.จึงไม่ได้ชำระภาษีครึ่งปี(ยื่นแบบภงด.51)
บังเอิญุ 6 เดือนหลังยอดขายเพิ่มผิดปกติ ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น กำไรที่ประมาณการไว้ในแบบภงด.51จึงขาดไปเกิน 25% สรรพกรแจ้งว่าต้องเสียค่าปรับ 20% บริษัทไม่สามารถนำภาษีที่ถูกหักณที่จ่ายใน 6 เดือนแรกมาเครดิตภาษีที่คำนวนได้(ซึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีที่ชำระปีที่แล้ว)จะต้องชำระภาษีจำนงน 900,000บาท จึงจะถือเป็นเหตูอันควรที่จะงดเว้นค่าปรับ
ช่วยวินิจฉัยด้วยครับว่าเจ้าหน้าที่สรรพกรเขตกับบริษัทใครถูกกันแน่ครับ? |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
22-09-2011 10:45:16
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
กรณีนี้ต้องดูว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นผิดปกติอยู่ในช่วงเดือนใด เป็นเดือนหลังจากยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 แล้วหรือไม่ และเกิดจากแผนงานของกิจการที่วางเอาไว้แล้ว เช่น มีการโฆษณา มีโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย และอื่น ๆ ที่จะส่งผลให้มียอดขายเพิ่มขึ้นเกินกว่าปกติหรือไม่ ถ้ามีเหตุผลเจ้าพนักงานก็จะพิจารณาเป็นเหตุอันควรได้ และการพิจารณาประมาณการที่ยื่นไว้ขาดไป ใช้ยอดประมาณการเป็นตัวเปรียบเทียบกับผลประกอบการจริงในการเปรียบเทียบ สรุปว่าประมาณการขาดเกิน 25% หรือไม่ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของช่วง 6 เดือนแรกใช้เป็นเครดิตภาษี |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
23-09-2011 09:58:35
|
|
|
บุคคลทั่วไป |
บุคคลทั่วไป |
|
|
บุคคลธรรมดา ได้รับเป็นที่ปรึกษา เมื่อโดนหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจากทางบริษัทแล้ว จะโดยสรรพากรเรียกตรวจสอบอะไรอีกหรือไม่
จำเป็นหรือไม่ที่บุคคลธรรมดาท่านนั้นต้องจำกัดอายุในการรับเป็นที่ปรึกษาหรือไม่ |
IP Logged
|
|
|
|
|
|
|
หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ภาษี หัก ณ ที่จ่าย..
23-09-2011 22:44:03
|
|
|
สุณิษาเรืองหิรัญ |
|
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่: |
|
|
|
อายุไม่ถึง 20 ปี ก็สามารถมีรายได้ได้ ค่ะ การที่สรรพากรจะตรวจสอบเรื่องภาษี ไม่ได้ไปเกี่ยวกับเรื่องอายุเลยค่ะ สิ่งสำคัญคือ การโดนบริษัท หัก ณ ที่จ่าย สรรพาจะทราบได้ทันทีว่า บุคคลนั้นมีรายได้เพราะบริษัทเมื่อเขาหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปเขาจะ ไปรายงานต่อสรรพากรทันที โดยการยื่นแบบ ภงด.3
เพราะฉนั้นตอนสิ้นปี บุคคลที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายคนนั้นก็จะต้องยื่นได้เข้าไป เพื่อนให้สอดคล้องกัน คือ บริษัทรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย (โดยการยื่นภงด.3 )บุคคลรับรู้เป็นรายได้(โดยการยื่น ภงด.90 ตอนสิ้น ถ้าสรรพากรตรวจสอบข้อมูลถูกต้องตรงกันก็จบ |
IP Logged
|
|
|
|
|