ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ เรารับทำบัญชี จดทะเบียนธุรกิจ ยื่นภาษีอากร ตรวจสอบบัญชี ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ทำวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน และยินดีให้คำปรึกษาฟรี สนใจติดต่อเราได้ตลอดเวลาค่ะ โทรศัพท์: 02-090-2284-6 แฟกซ์: 02-090-2287, มือถือ: 086-089-6768 Line ID : sunisar2524 & Line ID : @banbunchee
Home ห้องสนทนา ปัญหาการบริการด้านภาษี หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555
 กระดานสนทนา :: ปัญหาการบริการด้านภาษี
ยินดีต้อนรับ บุคคลทั่วไป   [ลงทะเบียน]  เข้าสู่ระบบ
 หัวข้อกระทู้ :หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555.. 25-02-2013 20:47:23 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่

หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555

หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555

หลักเกณฑ์การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา ประจำปี 2555

คำชี้แจงกรมสรรพากร

เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา

 

โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคาวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ว่า การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาตามมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการจำกัดสิทธิสามีและภริยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่า ไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง กรณีจึงขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บทบัญญัติตามมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งคาวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอ่าน คือ ตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ตามข้อ ๕๕ ของข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากสามีและภริยาเพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาสำหรับปีภาษี 2555 เป็นต้นไปนั้น มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี

กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ข้อ 2 การยื่นรายการของสามีหรือภริยา ให้หักลดหย่อนได้ ดังต่อไปนี้

(1) สำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนสำหรับ ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่าง หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(2) สำหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนภริยา 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนสามีหรือภริยา

(3) สำหรับบุตรและการศึกษาบุตรตามมาตรา 47 (1) (ค) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๕ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ มีบุตรด้วยกัน 1 คน สามีหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท

  (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่ง

ตัวอย่างที่ ๖ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มีบุตรด้วยกัน 1 คน ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภริยาหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท (ฝ่ายละ 17,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอด ปีภาษี สามีและภริยาหักได้ฝ่ายละ 8,500 บาท

(4) สำหรับเบี้ยประกันชีวิตตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ในกรณีที่ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๗ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อน 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๘ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท และส่วนของภริยา 10,000 บาท (รวม 20,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

  (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อน เบี้ยประกันชีวิตส่วนของตนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภริยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

(5) สำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามมาตรา 47 (1) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๑๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักได้ 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๑ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท ภริยาจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

(6) สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภริยาฝ่ายที่มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน

ตัวอย่างที่ ๑๒ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท ภริยากู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

  (ข) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวและร่วมกันกู้ยืม ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๓ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ ถ้าสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 10,000 บาท สามีมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมได้ทั้งจานวน 10,000 บาท

  (ค) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาสมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างยังคงหักลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

ตัวอย่างที่ ๑๔ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้วฝ่ายละ 10,000 บาท ต่อมาสมรสกัน สามีและภริยายังคงหักลดหย่อนได้ฝ่ายละ 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

  (ง) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้ยืม ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจานวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

ตัวอย่างที่ ๑๕ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมและได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท ภริยาหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท

(7) สาหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามมาตรา 47 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๑๖ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

ตัวอย่างที่ ๑๗ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

(8) สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาตามมาตรา 47 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๘ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) และถ้าสามีได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภริยาด้วย สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบิดาของภริยา 30,000 บาท และมารดาของภริยา 30,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

  (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อน ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๑๙ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีภริยาต่างฝ่ายต่างอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) ส่วนภริยาหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดา ของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท)

(9) สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามมาตรา 47 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

  (ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะ เลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท และให้หักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่สามีหรือภริยาเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๒๐ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๒๑ สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน และภริยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท และมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่ภริยาเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

  (ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

ตัวอย่างที่ ๒๒ สามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน ส่วนภริยาอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพอีก 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท ภริยาหักลดหย่อน คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท

ข้อ 3 การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555

เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 ว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 80 ดังนั้น การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555 ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 และบังคับใช้บทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555

 

IP Logged
หน้า # 


Powered by ccBoard


Joomla SEO powered by JoomSEF