รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบด่วน ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ประสบการณ์กว่า 20 ปี
Home รายจ่ายต้องห้าม โดยผลของกฏหมาย
รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี บัญชี จดทะเบียนบริษัท ตรวจสอบบัญชี ปทุมธานี ยื่นภาษี ทำประกันสังคม วีซ่า
รายจ่ายต้องห้าม โดยผลของกฏหมาย PDF พิมพ์ อีเมล

รายจ่ายต้องห้ามโดยผลของกฎหมาย (Legal Non Deductible Expenditure) หมายถึง รายจ่ายที่โดยปกติในทางธุรกิจรับรู้เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิ แต่ในทางภาษีอากรกำหนดห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่าย ทั้งนี้ เพื่อความเป็นมาตรฐานในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ซึ่งอาจจำแนกรายจ่ายต้องห้ามโดยผลของกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรได้ดังนี้

1.มาตรา 65 ตรี (1) เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินสำรองของกิจการประกันชีวิตหรือประกับวินาศภัยในส่วนที่ตั้งสำรองไว้เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด

2.มาตรา 65 ตรี (2) เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในกฎกระทรวงฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533) ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการจ่ายเงินได้นั้นให้แก่พนักงานลูกจ้างไปจริง

3.มาตรา 65 ตรี (3) เฉพาะส่วนที่เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือรายจ่ายเพิ่มการกีฬา สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ขาดทุนสุทธิ หรือในส่วนที่เกินกว่า 2% ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำไรสุทธิ

4.มาตรา 65 ตรี (4) ค่ารับรองเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในกฎกระทรวงฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522)

5.มาตรา 65 ตรี (6) ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ชำระ รวมทั้งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ไม่ขอคืนหรือสละสิทธิการขอคืน

6.มาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) ภาษีซื้อต้องห้าม และภาษีขายที่มิได้เรียกเก็บหรือออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

7.มาตรา 65 ตรี (8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่เป็นพนักงานลูกจ้างของกิจการ เฉพาะในส่วนที่มีจำนวนสูงเกินปกติ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งพิจารณาจากคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถประสบการณ์ ตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งเปรียบเทียบกับกิจการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน

8.มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีอื่น เช่น รายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ผ่านมา ซึ่งในทางปฏิบัติต้องปรับปรุงบวกกลับของปีที่ลงบัญชี แต่ก็ให้ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่เกิดรายจ่ายขึ้นจริงปรับปรุง

9.มาตรา 65 ตรี (12) ในส่วนที่เป็นรายจ่ายค่าความเสียหายที่มีได้รับกลับคืนเนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ซึ่งกฎหมายกำหนดยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมอันเนื่องจากการประกันหรือสัญญาค้ำประกัน อันเป็นไปตามหลักการจับคู่ของรายจ่ายกับรายได้

10.มาตรา 65 ตรี (15) รายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หมายถึง รายจ่ายในการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรมทางธุรกิจ เฉพาะในส่วนที่มิได้เป็นไปตามแนวทางการดำเนินกิจการที่เป็นไปตามประเพณีทางธุรกิจอันเป็นปกติทั่วไป เช่น รายจ่ายค่านายหน้า ค่าส่วนลด ที่ให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าหรือทรัพย์ หรือการขายสินค้าหรือทรัพย์สินของกิจการ ที่ไม่พึงต้องจ่ายตามปกติประเพณีทางธุรกิจ

11.มาตรา 65 ตรี (17) ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง นอกจากสินค้าคงเหลือ และเงินตรา หรือทรัพย์สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ได้แก่ มูลค่าของทรัพย์สินที่ด้อยค่าลง (Devalue) ซึ่งตามมาตรฐานการบัญชียอมให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานได้ตามปกติ

12.มาตรา 65 ตรี (18) รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ได้แก่ รายจ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายไปจริงในการประกอบกิจการ แต่ไม่อาจหาตัวผู้รับ หรือหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์เป็นที่ประจักษ์ได้ว่ามีการจ่ายรายจ่ายนั้นได้ โดยทั่วไปรายจ่ายทุกรายการ ต้องมีผู้รับ ซึ่งผู้รับต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ต่อไป ดังนั้น หากไม่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ ผู้จ่ายรายจ่ายจึงต้องรับภาระความเสี่ยงทางภาษีอากร (Tax Risk) นั้นไว้เอง

13.มาตรา 65 ตรี (19) รายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เช่น เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่กรรมการ ลูกจ้างพนักงาน โดยกำหนดจ่ายจากกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีหรือในบางกรณีอาจกำหนดจ่ายเฉพาะในบางรอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำไร แต่ในบางรอบระยะเวลาบัญชีที่ไม่มีกำไรหรือมีกำไรน้อยก็จะไม่จ่ายโบนัสดังกล่าว หรือการกำหนดข้อผูกพันว่า บริษัทต้องจ่ายเงินให้แก่ทางราชการเป็นจำนวนร้อยละของกำไรสุทธิ รวมทั้งค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องเสียจากฐานกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร ซึ่งถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย

14.มาตรา 65 ตรี (20) รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตต่อไปนี้

  • มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่ง และรถยนต์ โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน เฉพาะส่วนที่เกินคันละหนึ่งล้านบาท เว้นแต่กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายหรือให้เช่าซื้อรถยนต์ประเภทดังกล่าว ไว้เพื่อเป็นสินค้า หรือสำหรับกิจการให้เช่ารถยนต์ เฉพาะการมีรถยนต์ประเภทดังกล่าวไว้เพื่อการให้เช่า ในส่วนของมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
  • ค่าเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน เฉพาะส่วนที่เกินคันละสามหมื่นหกพันบาทต่อเดือนในกรณีที่เช่าเป็นรายเดือนหรือรายปี หรือค่าเช่าส่วนที่เกินคันละหนึ่งพันสองร้อยบาทต่อวันในกรณีที่เช่าเป็นรายวัน เศษของเดือนให้คิดเป็นวัน หากเช่าไม่ถึงหนึ่งวัน ให้คำนวณค่าเช่าตามส่วนของระยะเวลาที่เช่า ทั้งนี้ โดยรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

บทความน่ารู้อื่นๆ

 
Joomla SEO powered by JoomSEF